Tuesday, July 24, 2007

ส่วนผสมของงานศิลปะ(เพนท์ติ้ง)ที่ดี

เราไปเจอข้อคิดเห็นอันนึงในบอร์ด ซีจีทอร์ค
ประเด็นของกระทู้นี้จริงๆแล้ว คือมีคนถามหาว่าศิลปินชื่อดังเขาใช้บรัชอะไร และก็อยากเอามาใช้บ้างจัง
แล้วก็มีคนนึงตอบออกมาเช่นนี้ ซึ่งผมเราคิดว่าค่อนข้างสำคัญมากทีเดียว

Ok, here's my opinion on this. Essentially, there are three things we can breakdown when we look at a painting we admire. They are:

1) The idea/story/emotions behind the piece.

2) The artistic knowledge behind the piece (values, colors, edges, drawing, composition..etc)

3) The surface technique behind the piece (brush work, paint splatters, scumbling, dabbing, glazing, impasto, line quality of drawing..etc)

When people ask for the brushes of other artists, they are basically thinking about #3. There's nothing wrong with that, because for some artists, #3 is what people associate with their works (Nicolai Fechin comes to mind). There are artists where you associate #2 and #3 with (Richard Schmid comes to mind). Then there are artists where you associate all three elements with (Van Gough comes to mind).

Sometimes, it's #1 that makes a piece successful, sometimes it's #2 or #3. Of course, IMO, the best we strive for is all 3, or at least that's what I feel we should strive for.

With that in mind, I think for different people, they place different emphasis on their work. Someone like Craig strives to hit all three marks, but what many novice artists try to mimic is only #3. Now, I'm not saying Craig's surface technique isn't important, because it is, and it's such a signature look of his. But, you have to remember, when you mimic the surface technique, it makes you a cheap imitator with no substance. In a way, that's why I think someone like Godward never reached the heights of other masters like Waterhouse, Bouguereau, or Alma-Tadema. Granted, Godward polished his surface technique to death, but going through his body of works, it's one piece of redundant imitation after another.
http://forums.cgsociety.org/showthread.php?t=218497


สำคัญคือที่เป็นสามข้อครับ
ในนี้คุณลูนาติกเขาเขียนไว้ว่า เวลาที่เรามองไปที่ภาพเพ้นท์ติ้ง เราสามารถจำแนกองค์ประกอบหลักออกมาได้สามอย่างดังนี้
1.The idea/story/emotions behind the piece.
ไอเดีย เรื่องราว อารมณ์ที่อยู่เบื้องหลังภาพนี้ (อาจจะเรียกได้ว่าคือ คอนเซป)
2.The artistic knowledge behind the piece (values, colors, edges, drawing, composition..etc)
ความรู้ทางด้านศิลปะที่มีอยู่เบื้องหลังงานชิ้นนี้ เช่นความเข้าใจในสัดส่วน น้ำหนัก คอมโพส (คงจะเรียกได้ว่าคือ เบสิค)
3.The surface technique behind the piece (brush work, paint splatters, scumbling, dabbing, glazing, impasto, line quality of drawing..etc)
อันนี้ถ้าแปลตรงตัวก็คือเทคนิคพื้นผิวบนงานชิ้นนี้ ประมาณว่าฝีแปรงยังไง ใช้สีอะไร ใช้เทคนิคอะไรวาดขึ้นมา คุณภาพ ความเนี๊ยบของเส้น เป็นต้น


ที่หลายๆคนมักจะพลาดก็คือการไปหมกหมุ่นกับข้อสามมากจนเกินไป ส่วนหนึ่งเพราะเวลามองไปที่งานข้อสาม
ดูจะเป็นอะไรที่จับต้องได้มากที่สุด แต่ถ้าภาพปราศจากข้อหนึ่งและสองไปแล้ว ก็คงจะเกิดงานศิลปะ
อย่างเต็มตัวได้ยาก

ศิลปินแต่ละคนต่างก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะเน้นขอแรกเป็นพิเศษ ส่วนบางคนเน้นข้อสอง
หรือข้อสามมากเป็นจุดขายของตัวเอง
สำคัญคือไม่ว่าเราจะเน้นอะไร เราไม่ควรจะลืมทั้งสามข้อไป เพราะนั่นคือส่วนประกอบของงานที่สมบูรณ์...


บางครั้งตัวเราเองแยกมันออกมาพื้นๆสุดคือมีอยู่สองข้อ องค์ประกอบด้านปัญญา และด้านเทคนิค

ปัญญา(Mentality) คือความรู้เรื่องคอมโพส คอนเซปเบื่องหลังภาพ แสงเงา ค่าน้ำหนัก สี อารมณ์ มันคือการที่เราประสงค์อยากให้ภาพเราเป็นเช่นไร ดียังไง

เทคนิค(Technique) คือการเอาปัญญาในข้อข้างบน มาทำให้มันเป็นจริง คือการปฏิบัติ คือการลงสี การผสมสี การวาดเส้น ลงน้ำหนักให้ได้ตามที่ปัญญาเราบัญชา

ตัวผมเองเน้นไปที่ข้อแรกมากกว่า เพราะเห็นว่าถ้าไม่รู้ว่าจะทำอะไร ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้
แต่แน่นอนถ้าจะให้มีอะไรเกิดขึ้นได้ เราก็ต้องทำได้ นั่นแปลว่าเราต้องเป็นทั้งสองข้อ
หรือจะกล่าวได้ว่า อยากให้งานโดยรวมดูเป็นเช่นไร ข้อแรกนั้นสำคัญ แต่ถ้าอยากให้งานดูโดยละเอียดแล้วเป็นเช่นไร ข้อหลังนั้นเป็นตัวแปร

นี่คือความคิดของเรา = ='' องค์ประกอบหลักของศิลปะเราคิดมาแค่สองข้อนี่แหละ

ส่วนใหญ่ที่เห็นก็คือเขาจะเอาข้อแรกมาแยกอีกทีว่าเป็น เส้น น้ำหนัก คอมโพส รูปทรง สี ไรงี้ ตามตำราศิลปะ อืมๆ

เราไปเจอมาอีกอันนึงจากเวป คอนเซปอาร์ต.org ซึ่งก็ดีเหมือนกัน
จำไม่ได้แล้วว่าใคร แต่พอจำได้ว่า เขากล่าวว่า

-น้ำหนัก (น้ำหนักขาวสุด ดำสุดถูกต้อง และสม่ำเสมอหรือไม่)
-คอนเซป (ส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพน่ำสนใจ เรื่องราวเบื้องหลังภาพ)
-คอมโพส (เล่าเรื่องอย่างไร ทำไงให้เห็นจุดสนใจ การเรียงลำดับภาพดูรู้เรื่องหรืิอไม่)
-ดรออิ้ง (สัดส่วน โครงสร้าง ความรู้เรื่องเปอร์เสปคทีฟ)
-เทคนิค (ทีแปรง ความเนี๊ยบ เป็นต้น)
-สี (ช่วยกำหนดอารมณ์ของภาพได้มากขึ้นรึเปล่า เป็นตัวช่วยพัฒนาภาพไปอีกที แต่มันไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง)

*โดยเขากล่าวไว้ว่า สี จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่สำคัญน้อยที่สุด แต่ก็เป็นจุดที่ทำให้คนเดินผิดทางกันมากที่สุด
เพราะคิดว่ามันคือสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งแท้จริงแล้วไม่เลย ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ
ให้นึกถึงภาพถ่าย หรือหนังขาวดำเข้าไว้ ซึ่งมันไม่มีสีสันเลย แต่ก็ยังดูดีได้ เพราะมันมีองค์ประกอบที่เหลืออยู่ทั้งหมดนั่นเอง
แต่ลองเราเอาน้ำหนัก หรือ คอมโพส ออกไปจากภาพสีสิ รับรองมีปัญหาแน่นอน...

ประมาณนี้ครับ ตอนเจอหกข้อนี้ ผมก็อ๋อขึ้นมาทันที แล้วก็ทำให้การฝึกเราดูมีทิศทางมากขึ้น
หลายๆครั้งการเรียนรู้ที่ดี ก็คือการที่เราหยุดคิดและลองวิเคาะห์ดู แบ่งมันเป็นข้อๆ และลองหาลำดับความสำคัญดู
ใจเย็นเข้าไว้นั่นเอง...

1 comment:

Anonymous said...

เวลาดูงาน คนเรามักจะดูที่หน้าตาก่อนจริงๆ แล้วค่อยๆคิดถึงไอเดียของงาน โดยส่วนตัวนะ เวลาเราดูงานมันจะค่อยๆดูๆ แล้วค่อยหาจุดสนใจในงานแล้วค่อยๆคิดตามจุด(ที่สนใจ)อันนั้น ซึ่งมันก็แบบว่าทำให้เราคิดออกไปต่างๆนานา ไม่รู้ตรงไม่ตรงกับคนทำรึเปล่า แต่เราก็พอใจที่ได้รับรู้อะไรใหม่(นิดนึงก็ยังดี)นะ